วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ก่อนที่จะเริ่มปฐมพยาบาล



ก่อนที่จะเริ่มปฐมพยาบาล ต้องรู้จัก "การประเมินสถานการณ์"
การประเมินสถานการณ์ ณ จุดเกิดเหตุ (scene size-up)
- เป็นการประเมินสถานการณ์ที่เกิดเหตุ และสิ่งโดยรอบเพื่อหาข้อมูลสำคัญสำหรับการ
ช่วยเหลือผู้ป่วยขั้นต้น ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญ

สิ่งที่ต้องประเมิน ณ จุดเกิดเหตุ
1. ความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุ (scene safety)
2. กลไกการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ (mechanism of injury)
3. ความรุนแรงของสถานการณ์ (situation)
ทำไมต้องประเมินสถานการณ์ที่เกิดเหตุ
1. การป้องกันตนเอง
2. ป้องกันผู้เจ็บป่วยได้รับอันตราย เพื่อไม่เพิ่มจำนวนผู้บาดเจ็บ หรือเป็นผู้ป่วยเอง

ความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุ (scene safety)
1. การประเมินความปลอดภัย
- ผู้ช่วยเหลือ
- ผู้บาดเจ็บ
- ประชาชนที่อยู่ในเหตุการณ์
" เราจะปลอดภัยหรือไม่ ถ้าอยู่ในการสถานการณ์นั้น "
" เราจะปลอดภัยหรือไม่ ถ้าเข้าไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ

2. การป้องกันอันตรายซ้ำซ้อน เช่น ถูกรถชนซ้ำ รถเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งเดิม
ใกล้บริเวณที่มีกระแสไฟฟ้าแรงสูง สารเคมี หรือเชื้อเพลิง
กรณีสายไฟถูกตัดขาด
- ห้ามแตะต้องสิ่งใดๆ
- ไปอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย
- ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์
- ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
3. การป้องกันตนเองของผู้ช่วยเหลือ
- วัตถุอันตราย : สารพิษ สารเคมีต่างๆ
- อุบัติเหตุจราจร : รถชน พื้นผิวการจราจรไม่ปลอดภัย
- การถูกทำร้ายร่างกาย : อาชญากรรม ยาเสพติด
- การสัมผัสเชื้อ : สวมแว่นตาหรือเครื่องป้องกันดวงตา ถ้าจำเป็น
: สวมถุงมือ
: สวมเสื้อคลุม ถ้าจำเป็น
: สวมผ้าปิดปากปิดจมูก ถ้าจำเป็น

กลไกการเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บ (mechanism of injury)

1. โรคทั่วไป ซักประวัติเพิ่มเติมจาก ญาติ ผู้เห็นเหตุการณ์
2. การได้รับบาดเจ็บ สาเหตุของการบาดเจ็บ : ตกจากที่สูง ถูกยิง ถูกแทง หรือ ถูกระเบิด

ความรุนแรงของสถานการณ์ (situation)

1. พิจารณาจำนวนผู้ป่วย การบาดเจ็บ
2. ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่น : ตำรวจ ดับเพลิง หน่วยกู้ภัยต่างๆ
3. คัดแยกผู้ป่วย (triage)
4. ถ้าจัดการกับสถานการณ์ได้ ให้ระวังการบาดเจ็บของไขสันหลัง : การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น

การคัดแยกผู้ป่วย (triage)

แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. ภาวะฉุกเฉิน (emergent) เป็นภาวะคุกคามต่อชีวิต ต้องได้รับการช่วยเหลือทันที การ
รีรอจะทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความพิการ ได้แก่ หัวใจหยุดเต้น การอุดตันของ
ทางเดินหายใจ ช็อค ภาวะเลือดออกมาก การได้รับบาดเจ็บรุนแรงหลายแห่ง
2. ภาวะรีบด่วน (urgent) เป็นภาวะที่ต้องได้รับการช่วยเหลือโดยเร็ว รอได้บ้างในระยะ
เวลาไม่กี่ชั่วโมง เช่น อาการปวดรุนแรง กระดูกหัก การได้รับบาดเจ็บ บาดแผล การแท้ง
ตกเลือด
3. ภาวะไม่รีบด่วน (non-urgent) เจ็บป่วยเล็กน้อยไม่ฉุกเฉิน ไม่มีความจำเป็นต้องใช้
บริการของแผนกฉุกเฉิน เช่น ไข้หวัด เจ็บคอ ปวดหลัง ตกขาว ริดสีดวงทวาร

สำคัญนะครับ ท่าผู้ช่วยไม่ปลอดภัย ผู้ที่จะช่วยรวมถึงผู้ที่จะถูกช่วย หรือ คนที่อยู่ใกล้ๆ รอบข้าง จะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยไปในทันทีเลยนะครับ