วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

การจับชีพจร


การจับชีพจร
            การจับชีพจร
                ชีพจร คือ การหดตัวและการขยายตัวของหลอดเลือดแดงตามจังหวะการเต้นของหัวใจ เมื่อจับดู จะรู้สึกว่าเป็นเส้นๆ หยุ่นๆ แน่นๆ ภายในเส้นนี้มีเลือดสม่ำเสมอ เมื่อกดลงจะรู้สึกเต้น ซึ่งจะตรงกับการเต้นของหัวใจ ปกติผู้ใหญ่เมื่อพักแล้วชีพจรจะเต้นประมาณ 60-80 ครั้งต่อนาที เฉลี่ย 72 ครั้งต่อนาที ส่วนในทารกและเด็กเล็ก ประมาณ 90-140 ครั้งต่อนาทีหรือมากกว่านั้น เราสามารถจับชีพจรได้ตามส่วนต่างๆของร่างกาย ดังนี้
  1. ที่ข้อมือทางด้านนิ้วหัวแม่มือ
  2. ที่ขมับ
  3. มุมกระดูกขากรรไกรล่าง
  4. ข้างๆคอ
  5. ข้อพับแขน
  6. ขาหนีบ
  7. บริเวณขาพับ
  8. บนหลังเท้าทางนิ้วหัวแม่เท้า
วิธีจับชีพจร
  1. ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ใช้นิ้วกลางสัมผัสกับชีพจรมากกว่าอีก 1 นิ้ว
  2. อย่าใช้นิ้วหัวแม่มือ
  3. ให้อวัยวะส่วนที่จับ วางลงราบๆโดยมีที่หนุน อย่ายกแขนผู้ป่วยขึ้นจับ
  4. นับครึ่งนาทีหรือ 1 นาที ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจ ต้องนับทั้ง 2 ข้าง และนับให้เต็ม 1 นาที ถ้าสงสัยควรนับใหม่

การปฐมพยาบาลสัตว์กัด

สุนัขกัด
  1. ถ้าเลือดออก ห้ามเลือนทันที (ด้วยผ้าก็อซหรือบีบแผล)
  2. ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ปิดด้วยผ้าก็อซสะอาด
  3. รีบไปพบแพทย์ เพื่อฉีดวัคซีน

งูกัด
  1. ดูรอยแผล ถ้าเป็นงูพิษจะมีรอยเขี้ยว
  2. ใช้เชือกรัดหรือยาง หรือเข็มขัดรัดเหนือแผลให้แน่นพอควร
  3. ให้นอนนิ่ง ๆ คอยปลอบใจ
  4. ห้ามดื่มสุรา ,ยาดองเหล้า ,ยากล่อมประสาท
  5. ถ้าอยุดหายใจให้ช่วยหายใจทันที
  6. ควรนำงูไปพบแพทย์ด้วย

แมลงต่อย
  1. ถ้าถูกต่อยหายตัว หรือต่อยบริเวณหน้า ให้รีบไปพบแพทย์
  2. พยายามถอนเหล็กไน (โดยใช้หลอดกาแฟเล็ก ๆ แข็ง ๆ หรือปากกาครอบแล้วกดให้เหล็กในโผล่ แล้วดึงเหล็กไนออก)
  3. ใช้ยาแก้แพ้ทา หรือราดด้วยน้ำโซดา หรือประคบด้วยน้ำแข็ง (ปกติอาการบวมจะลดลงใน 1 วันถ้าไม่ลดให้พบแพทย์)
  4. ถ้ามีอาการปวด กินยาแก้ปวด (พาราเซตามอล)

การปฐมพยาบาลไฟฟ้าช็อต

ไฟฟ้าช็อต
  1. รีบปิดสวิตซ์ไฟทันที
  2. ถ้าไม่สามารถปิดสวิทช์ไฟได้ ห้ามใช้มือจับต้องคนที่กำลังถูกไฟช็อตแล้วให้นำสิ่งที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น ไม้กวาด ,เก้าฮีไม้ เขี่ยออกจากสายไฟ หรือเขี่ยสายไฟออกจากตัวผู้บาดเจ็บ
  3. เมื่อผู้ป่วยหลุดออกมาแล้ว รีบปฐมพยาบาล ถ้าหยุดหายใจ ให้ทำการเป่าปากช่วยหายใจ ถ้าคลำชีพจรไม่ได้ ให้นวดหัวใจด้วย แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลด้วย

สำลักหรือมีสิ่งของไปอุดหลอดลม

สำลักหรือมีสิ่งของไปอุดหลอดลม
  1. ทารก --ตบอย่างรวดเร็วกลางหลัง 4 ครั้ง ในท่าที่ศรีษะอยู่ต่ำกว่าปอด
  2. เด็กเล็ก ---ตบกลางหลังหนัก ๆ 4 ครั้ง ในท่าที่ศรีษะอยู่ต่ำกว่าปอด
  3. เด็กโตและผู้ใหญ่ --ตบหนัก ๆ และเร็ว ๆ กลางหลัง 4 ครั้งในท่าที่ศรีษะอยู่ต่ำกว่าปอด

ผู้ป่วยช็อค


สาเหตุ
  • โรคหัวใจกำเริบ ,บาดเจ็บรุนแรง , เลือดออกมาก ,ไฟไหม้น้ำร้อนลวก ,กระดูกหัก ,อาเจียน หรือท้องเสียรุนแรง

อาการ
  • หนาวเย็น ,เหงื่อออก , เวียนศรีษะ , หายใจเร็วขึ้น ,ชีพจรเร็วแต่แผ่ว ,กลัว ,กระหาย

การปฐมพยาบาลการปฐมพยาบาล
  • ให้นอนราบ ,ถ้าเลือดออกห้ามเลือด ,ห่มผ้า ,คลายเสื้อผ้า
  • อย่าเคลื่อนไหวผู้ป่วย, ถ้าบาดเจ็บที่อก, ท้อง, ศรีษะ ให้หนุนศรีษะและบ่าให้สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย คอยปลอบใจ
  • ถ้ากระหายน้ำมาก ให้หยดน้ำที่ริมฝีปากนิด ๆ (ห้ามรัปประทานสิ่งใด ๆ )

การปฐมพยาบาลเลือดออก

เลือดออก
  1. ใช้นิ้วกดบาดแผล ประมาณ 10 นาที หรือบีบเนื้อข้าง ๆ มาปิดแผล
  2. ใช้ผ้าหรือเน็คไท พันปิดแผลไว้ (อย่าให้แน่นจนชา)
  3. แผลที่แขน , ขาให้ยกสูง ถ้าเลือดไหลไม่ให้กดเส้นเลือดใหญ่ที่ไปเลี้ยงแขน ขา

การปฐมพยาบาลกระดูกหัก

กระดูกหัก
  1. วางอวัยวะส่วนนั้นบนแผ่นไม้หรือหนังสือหนา ๆ
  2. ใช้ผ้าพันยึดไม้ให้เคลื่อนไหว
  3. ถ้าเป็นปลายแขนหรือมือใช้ผ้าคล้องคอ